วันศุกร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ความรู้เกี่ยวกับกฎหมาย


1.กฎหมาย คือ
ตอบ     กฎหมาย      คือข้อบังคับ   กติกาของรัฐหรือของชาติ กำหนดขึ้นมาเพื่อใช้บังคับ  ควบคุมความประพฤติของบุคคลในสังคม ให้ปฏิบัติตาม   หากมีการฝ่าฝืน ไม่ปฏิบัติตามจะมีความผิดและได้รับโทษตามที่กำหนดไว้
2.  ลักษณะสำคัญของกฎหมาย มีอะไรบ้าง?
ตอบ     ลักษณะสำคัญของกฎหมาย      1.  กฎหมายต้องมาจากรัฐาธิปัตย์ รัฐาธิปัตย์ หมายถึงผู้มีอำนาจสูงสุดของรัฐ    เช่น  ผู้นำสูงสุด  หรือหัวหน้าคณะปฎิวัติในระบอบการปกครองแบบเผด็จการ   พระมหากษัตริย์ในระบอบการปกครองสมบูรณาญาสิทธิราช        ส่วนในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยพระมหากษัตริย์ตรากฎหมายโดยความยินยอมจากฝ่ายนิติบัญญัติ คือรัฐสภา
     2.  กฎหมายเป็นข้อบังคับใช้ได้ทั่วไป กฎหมายที่ถูกบัญญัตินำมาประกาศใช้แล้ว จะต้องใช้ได้ทุกสถานที่ภายในรัฐ และใช้บังคับบุคคลทั่วไปโดยเสมอภาค  หากมีการยกเว้นแก่บุคคลใดกฎหมายจะระบุไว้
      3. กฎหมายเป็นข้อบังคับใช้ได้เสมอไป กฎหมายที่ถูกบัญญัตินำมาประกาศใช้แล้ว  ต้องมีผลการบังคับใช้ได้ตลอดไป ยาวนานกี่ปีก็มีผลบังคับใช้ จนกว่าจะมีการประกาศยกเลิก
      4. กฎหมายเป็นข้อบังคับใช้ที่ทุกคนต้องปฎิบัติตามเมื่อมีการประกาศใช้กฎหมายแล้ว  บุคคลหรือประชาชนจะพึงพอใจหรือไม่ก็ตาม ต้องปฏิบัติตาม      
 5.  กฎหมายต้องมีสภาพบังคับ  เมื่อมีการประกาศใช้กฎหมายแล้ว ต้องมีขั้นตอนการปฏิบัติตามกฎหมาย หากบุคคลใดไม่ปฏิบัติตามจะได้รับโทษตามที่กฎหมายนั้น ๆ กำหนดไว้  เช่นการเสียสิทธิ   การชดใช้สินไหมทดแทน หรือการถูกลงโทษทางอาญา เช่น ริบทรัพย์  ปรับ  กักขัง  จำคุก  และสูงสุดคือประหารชีวิต
3.  กฎหมายมีความสำคัญหรือมีประโยชน์อย่างไร?
ตอบ     ช่วยให้สังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข เนื่องจากมีแนวปฏิบัติที่เหมือนกันหมด มีข้อยุติความขัดแย้ง ที่ชัดเจน ช่วยยึดเหนี่ยวให้สังคมดำรงอยู่ได้
4.   การแบ่งประเภทของกฎหมาย มีการแบ่งตามหลักเกณฑ์ใดบ้าง?
ตอบ      1 กฎหมายตามเนื้อความ หมายถึง ข้อบังคับของรัฐซึ่งกำหนดความประพฤติของมนุษย์ ถ้าฝ่าฝืนจะถูกลงโทษ ตามความหนักเบาของการกระทำ2. กฎหมายตามแบบพิธี หมายถึง กฎหมายที่ตราขึ้นมาโดดยวิธีบัญญัติกฎหมายของรัฐ จะไม่มีการกำหนดความประพฤติของมนุษย์หรือประชาชนทั่วไปโดยตรง แต่ถือเป็นกฎหมายอย่างหนึ่งที่วางหลักเกณฑ์ในการบริหารงานของรัฐปัจจุบันรัฐยุคใหม่มีการออกกฎหมายขึ้นมาเพื่อกำหนดกฎเกณฑ์ต่างๆ ทั้งในทางกำหนดความประพฤติของสมาชิกในสังคม และเพื่อจัดองค์กรต่างๆของรัฐ และในกฎหมายฉบับเดียวกันยังเป็นทั้งกฎหมายตามเนื้อความและกฎหมายตามแบบพิธีอีกด้วยดังนั้นหากกล่าวโดยรวมแล้ว กฎหมายคือ กฎเกณฑ์หรือข้อบังคับที่รัฐกำหนดขึ้นเพื่อให้บุคคลปฏิบัติโดยมีวัตถุประสงค์ต่างๆ เช่น เพื่อความสงบเรียบร้อย หรือพัฒนาสังคม เป็นต้น ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามจะมีบทลงโทษกฎหมายแบ่งแยกได้หลายประเภทตามเกณฑ์ต่างๆเพื่อประโยชน์ในการใช้1. แบ่งโดยแหล่งกำเนิดของกฎหมาย แยกได้เป็น กฎหมายภายใน และกฎหมายภายนอกกฎหมายภายใน เป็นกฎหมายที่องค์กรของรัฐที่มีอำนาจในการบัญญัติกฎหมาย บัญญัติขึ้นใช้ภายในประเทศ ได้แก่ กฎหมายไทยฉบับต่างๆที่ประชาชนต้องปฏิบัติตามอยู่ในปัจจุบันกฎหมายภายนอก เป็นกฎหมายที่บัญญัติขึ้นโดยองค์การระหว่างประเทศ เช่น องค์การสหประชาชาติ หรือ เกิดจากความตกลงระหว่างประเทศที่เห็นพ้องต้องกัน เช่น สนธิสัญญา หรืออนุสัญญา เป็นต้น หรือความตกลงทวิภาคีระหว่างประเทศไทยกับประเทศใดประเทศหนึ่ง เช่น ข้อตกลงเขตการค้าเสรี เป็นต้น2. แบ่งโดยฐานะและความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชน แยกได้เป็น กฎหมายเอกชน และกฎหมายมหาชนกฎหมายเอกชน เป็นกฎหมายที่วางหลักเกณฑ์เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างเอกชน หรือประชาชนทั่วไปด้วยกัน เช่น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บัญญัติเกี่ยวกับการทำนิติกรรมสัญญาของบุคคล เป็นต้นกฎหมายมหาชน เป็นกฎหมายที่วางหลักเกณฑ์เกี่ยวกับรัฐ อำนาจหน้าที่ หรือภารกิจของรัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตลอดจนความสัมพันธ์ของรัฐและประชาชน3. แบ่งโดยเจตนารมณ์และเนื้อหาของกฎหมาย แยกได้เป็น หลายประเภท เช่น กฎหมายระเบียบบริหารราชการ กฎหมายการเงินการคลัง กฎหมายธุรกิจ กฎหมายการค้าระหว่างประเทศ กฎหมายสาธารณสุข กฎหมายสวัสดิการสังคม กฎหมายแรงงาน กฎหมายอุตสาหกรรม กฎหมายส่งเสริมและรักษาสิ่งแวดล้อม เป็นต้น4. แบ่งโดยลักษณะการใช้กฎหมาย แยกได้เป็น กฎหมายสารบัญญัติ และกฎหมายวิธีสบัญญัติกฎหมายสารบัญญัติ เป็นกฎหมายที่กำหนดสิทธิหรือหน้าที่ให้บุคคลปฏิบัติ เช่น กฎหมายคุ้มครองแรงงาน กำหนดหน้าที่ของนายจ้างในการจัดให้มีระบบความปลอดภัยในการทำงาน เป็นต้นกฎหมายวิธีสบัญญัติ เป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับวิธีพิจารณาคดีของศาล และขั้นตอนของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเมื่อเกิดการฟ้องร้องเป็นคดีขึ้น เช่น กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เป็นต้น5. การแบ่งโดยสภาพบังคับของกฎหมาย แยกได้เป็น กฎหมายแพ่ง กฎหมายอาญา กฎหมายปกครอง และกฎหมายอื่น กฎหมายบางฉบับ เช่น กฎหมายโรงงาน มีสภาพบังคับทั้งทางอาญาและทางปกครอง เป็นต้น
5.  ให้นักเรียนเขียน ศักดิ์ หรือลำดับชั้นของกฎหมาย เรียงจากสูงไปหาต่ำ?
ตอบ      1. รัฐธรรมนูญ   (พ่อ)2. พระราชบัญญัติ ประมวลกฎหมาย พระราชกำหนด พระบรมราชโองการ  (ลูก)3. พระราชกฤษฎีกา  (หลาน)4. กฎกระทรวง  (เหลน)5. เทศบัญญัติ ข้อบัญญัติอบต.  ข้อบัญญัติอบจ.  ข้อบัญญัติกทม.  และข้อบัญญัติเมืองพัทยา  (ลื้อ)
6. ที่มาของกฎหมายในระบบ Civil Law มีอะไรบ้าง?
ตอบ ซีวิลลอว์ คือ กฎหมายในระบบ "ประมวลกฎหมาย" ผู้เขียนไม่อยากให้เรียกว่า กฎหมายลายลักษณ์อักษร เพราะไม่ว่าจะเป็นกฎหมายในระบบใดก็ระบุไว้เป็นลายลักษณ์อักษรทั้งสิ้น จึงควรใช้คำให้ถูกต้องว่า "ระบบประมวลกฎหมาย"ประเทศที่ใช้กฎหมายในระบบประมวลกฎหมายมีหลายประเทศ ยกตัวอย่างเช่น ประเทศเยอรมัน ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ประเทศญี่ปุ่น ประเทศจีน ประเทศฝรั่งเศษ อิตาลี และกลุ่มประเทศสแกนดิเนเวีย เป็นต้น
7. ที่มาของกฎหมายในระบบ Common Law มีอะไรบ้าง?ตอบ คอมมอนลอว์ คือ กฎหมายในระบบ "จารีตประเพณี" ที่มีบัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษรเช่นกัน มิใช่ใช้กันตามความรู้สึกแต่อย่างใด แต่เป็นการนำเอาคำพิพากษาในคดีที่ศาลตัดสินแล้วมาเป็นกฎหมาย ประเทศที่ใช้กฎหมายในระบบนี้ เช่น ประเทศอังกฤษ และประเทศอเมริกา เป็นต้น
8. ระบบกฎหมายในปัจจุบันมีกี่ระบบ ระบบใดบ้าง?ตอบ ระบบกฎหมายกฎหมายที่ใช้กันในโลกแบ่งออกได้เป็นสองระบบใหญ่ คือ ระบบกฎหมายจารีตประเพณี (common law system) และระบบประมวลกฎหมาย (civil law system) ซึ่งทั้งสองระบบนี้ ต่างก็มีกฎหมายที่บัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษร แต่คนโดยทั่วไปมักจดจำว่าระบบกฎหมาย common law ไม่ใช่กฎหมายลายลักษณ์อักษร ซึ่งเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน อย่างไรก็ดีการแบ่งระบบกฎหมายโดยทั่วไปที่ได้รับการยอมรับกันในเชิงกฎหมายเปรียบเทียบแบ่งออกเป็น 4 ระบบ ดังนี้ระบบกฎหมายจารีตประเพณี (Common Law System)เป็นระบบที่ใช้กันในเครือจักรภพอังกฤษและในสหรัฐอเมริกา โดยจะใช้คำพิพากษาที่ศาลเคยวางหลักไว้แล้วเป็นหลักในการพิจารณา ระบบนี้มีกฎหมายที่บัญญัติโดยรัฐสภาเช่นเดียวกับประเทศที่ใช้ระบบประมวลกฎหมาย แต่ระบบกฎหมายทั่วไปนี้ จะให้อำนาจผู้พิพากษาในการตีความกฎหมายอย่างมาก จึงลดทอนความสำคัญของกฎหมายของรัฐสภาลง และจะตีความในลักษณะจำกัดเท่าที่ลายลักษณ์อักษรไว้บัญญัติเท่านั้น ตัวอย่างประเทศที่ใช้ระบบนี้ในปัจจุบันนั้น ได้แก่ เครือจักรภพอังกฤษ, สหรัฐอเมริกา, แคนาดา, ออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์, อินเดีย เป็นต้น ระบบประมวลกฎหมาย (Civil Law System)เป็นระบบที่ใช้กันในภาคพื้นทวีปยุโรป โดยมีหลักกฎหมายซึ่งสืบทอดมาจากหลักกฎหมายโรมัน ในการเรียนการสอนกฎหมายของบางประเทศ เช่น เยอรมัน จะต้องเรียนรู้ภาษาลาตินก่อนจึงจะสามารถเรียนกฎหมายได้ ประมวลกฎหมายสำคัญซึ่งเป็นที่ยอมรับกันและเป็นตัวอย่างให้กับนานาประเทศ ได้แก่ ประมวลกฎหมายแพ่งฝรั่งเศส ระบบกฎหมายนี้ ผู้พิพากษาสามารถตีความกฎหมายลายลักษณ์อักษรในลักษณะขยายความได้ โดยมีหลักว่า ผู้พิพากษาจะต้องค้นหากฎหมายที่จะนำมาตัดสินคดีความจากกฎหมายลายลักษณ์อักษรก่อน หากไม่ได้จึงจะใช้หลักกฎหมายทั่วไป และกฎหมายจารีตประเพณี ตัวอย่างประเทศที่ใช้ระบบนี้ในปัจจุบันนั้น ได้แก่ ฝรั่งเศส เยอรมัน อิตาลี ญี่ปุ่น ประเทศสแกนดิเนเวีย รวมทั้งประเทศไทย เป็นต้นระบบกฎหมายศาสนา (Religious Law System)หมายถึงระบบกฎหมายที่พึ่งพิงกับระบบทางศาสนาหรือใช้คัมภีร์ทางศาสนาเป็นกฎหมาย ซึ่งมักจะมีวิธีการใช้กฎหมายที่แตกต่างกันออกไป อาทิ การใช้ฮาลัคกาห์ของยิวในกฎหมายมหาชน ถือเป็นเรื่องที่ไม่อาจเปลี่ยนแปลงเป็นอื่นได้ lขณะที่การใช้กฎหมายอิสลามขี่นอยู่กับบรรทัดฐานการใช้กฎหมายที่มีมาก่อนและการตีความด้วยการเทียบเคียงเป็นต้น ตัวอย่างประเทศที่ใช้ระบบนี้ในปัจจุบันนั้น ได้แก่ อัฟกานิสถาน ลิเบีย อิหร่าน เป็นต้น ระบบกฎหมายผสมผสาน (Pluralistic Systems)หมายถึงระบบที่ใช้การผสมผสานจากสามระบบข้างต้น ซึ่งมักเกิดจากอิทธิพลทางประวัติศาสตร์ที่ทำให้เกิดการผสมผสานระหว่างระบบกฎหมายขึ้น เช่น มาเลเชียใช้ระบบกฎหมายทั่วไปเป็นหลักผสมผสานกับระบบกฎหมายศาสนา อิยิปต์ใช้ระบบกฎหมายศาสนาเป็นหลักผสมผสานกับระบบประมวลกฎหมาย เป็นต้น
9. ประเทศไทย เป็นประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายใด?
ตอบ      ประเทศไทย ใช้ระบบกฎหมายCivil law หรือเรียกว่าระบบประมวลกฎหมาย หรือระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร  
10. องค์ประกอบสำคัญของ "รัฐ" มีอะไรบ้าง?
ตอบ องค์ประกอบสำคัญของรัฐ มี 4 ประการ คือ         
1. ประชากร รัฐทุกรัฐจะต้องมีประชากรจำนวนหนึ่งซึ่งเป็นกลุ่มคนที่มีจุดมุ่งหมายและมีประโยชน์ร่วมกัน จำนวนประชากร       ของแต่ละรัฐอาจมีมากน้อยแตกต่างกันไป ที่สำคัญคือ จะต้องมีประชากรดำรงชีพอยู่ภายในขอบเขตของรัฐนั้น      
  2. ดินแดน รัฐต้องมีดินแดนอันแน่นอนของรัฐนั้น กล่าวคือ มีเส้นเขตแดนเป็นที่ยอมรับของนานาประเทศทั้งโดยข้อเท็จจริงและโดยสนธิสัญญา ทั้งนี้รวมถึงพื้นดิน พื้นน้ำและพื้นอากาศ        
3. อำนาจอธิปไตย อำนาจอธิปไตย คือ อำนาจรัฐ หมายถึง อำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ ทำให้รัฐสามารถดำเนินการทั้งในส่วนที่เกี่ยวกับการปกครองภายในและภายนอก      
  4. รัฐบาล รัฐบาลคือ องค์กรหรือหน่วยงานที่ดำเนินงานของรัฐในการปกครองประเทศ รัฐบาลเป็นผู้ทำหน้าที่สาธารณะสนองเจตนารมย์ของสาธารณชนในรัฐ เพื่อรักษาผลประโยชน์ของประชาชนและป้องกันการรุกรานจากรัฐอื่น รัฐบาลเป็นองค์กรทางการเมืองที่ขาดไม่ได้ของรัฐ

วันเสาร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ค.ศ. 2012


ElectoralCollege2012.svg
การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ค.ศ. 2012 เป็นการเลือกตั้งประธานาธิบดีทุกสี่ปีครั้งที่ 57 และมีขึ้นในวันที่ 6 พฤศจิกายน ค.ศ. 2012 ประธานาธิบดีบารัก โอบามา ผู้ลงสมัครจากพรรคเดโมแครต กับรองประธานาธิบดีโจ ไบเดน คู่ลงสมัคร ได้รับเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งเป็นสมัยที่สอง คู่แข่งคนสำคัญ คือ มิตต์ รอมนีย์ ผู้ลงสมัครจากพรรครีพับลิกันและอดีตผู้ว่าการรัฐแมสซาชูเซตส์ และวุฒิสมาชิกพอล ไรอัน คู่ลงสมัคร จากรัฐวิสคอนซิน
ตามที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ การเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งนี้เกิดขึ้นพร้อมกับการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาสหรัฐอเมริกาซึ่งวุฒิสมาชิกหนึ่งในสาม (33 ที่นั่ง) ต้องมีการเลือกตั้งใหม่ และการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทุกสองปีเพื่อเลือกตั้งสมาชิกมายังสมัยประชุมสภาคองเกรสที่ 113 นอกจากนี้ ยังมีการเลือกตั้งผู้ว่าการรัฐสิบเอ็ดรัฐและการเลือกตั้งสภานิติบัญญัติในหลายรัฐพร้อมกันด้วย

วันพุธที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

อาเซียน

อาเซียน

              ประชาคมอาเซียน หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East Asian Nations : ASEAN) เป็นองค์กรระหว่างประเทศระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีจุดเริ่มต้นโดยประเทศไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ ได้ร่วมกันจัดตั้ง สมาคมอาสา (Association of South East Asia) เมื่อเดือน ก.ค.2504 เพื่อการร่วมมือกันทาง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม แต่ดำเนินการไปได้เพียง 2 ปี ก็ต้องหยุดชะงักลง เนื่องจากความผกผันทางการเมืองระหว่างประเทศอินโดนีเซียและประเทศมาเลเซีย จนเมื่อมีการฟื้นฟูสัมพันธ์ทางการฑูตระหว่างสองประเทศ จึงได้มีการแสวงหาหนทางความร่วมมือกันอีกครั้ง
แต่หากท่านหมายถึง “AEC ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” >>ไปที่ thai-aec.com<<
สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จึงก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 8 ส.ค.2510 หลังจากการลงนามในปฎิญญาสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Declaration of ASEAN Concord) หรือเป็นที่รู้จักกันในอีกชื่อหนึ่งว่า ปฏิญญากรุงเทพ (The Bangkok Declaration)
โดยสมาชิกผู้ก่อตั้งมี 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนิเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ซึ่งผู้แทนทั้ง 5 ประเทศที่ร่วมลงนามในปฏิญญากรุงเทพ ประกอบด้วย
1.นายอาดัม มาลิก รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซีย
2.ตุน อับดุล ราชัก บิน ฮุสเซน รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีกลาโหมและรัฐมนตรีกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติมาเลเซีย
3.นายนาซิโซ รามอส รัฐมนตรีต่างประเทศฟิลิปปินส์
4.นายเอส ราชารัตนัม รัฐมนตรีต่างประเทศสิงคโปร์
5.พันเอก (พิเศษ) ถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ จากประเทศไทย
หลังจากจัดตั้ง ประชาคมอวเซียนเมื่อ 8 ส.ค.2510 แล้ว อาเซียนได้เปิดรับสมาชิกใหม่จากประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพิ่มเติมเป็นระยะ ตามลำดับได้แก่
-บรูไนดารุสซาลาม เข้าเป็นสมาชิกเมื่อ 8 มกราคม 2527
-สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม เข้าเป็นสมาชิกเมื่อ 28 กรกฏาคม 2538
-สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เข้าเป็นสมาชิกเมื่อ 23 กรกฎาคม 2540
-สหภาพพม่า เข้าเป็นสมาชิกเมื่อ 23 กรกฏาคม 2540
-ราชอาณาจักรกัมพูชา เข้าเป็นสมาชิกเมื่อ 30 เมษายน 2542
วัตถุประสงค์ในการก่อตั้งประชาคมอาเซียน
ประชาคมอาเซียน ก่อตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เริ่มแรกเพื่อสร้างสันติภาพในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อันนำมาซึ่งเสถียรภาพทางการเมือง และความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม และเมื่อการค้าระหว่างประเทศในโลกมีแนวโน้มกีดกันการค้ารุนแรงขึ้น ทำให้อาเซียนได้หันมามุ่งเน้นกระชับและขยายความร่วมมือด้านเศรษฐกิจการค้าระหว่างกันมากขึ้น วัตถุประสงค์หลักที่กำหนดไว้ในปฏิญญาอาเซียน (The ASEAN Declaration) มี 7 ประการ ดังนี้
1. ส่งเสริมความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ความก้าวหน้าทางสังคมและวัฒนธรรม
2. ส่งเสริมการมีเสถียรภาพ สันติภาพและความมั่นคงของภูมิภาค
3. ส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม วิชาการ วิทยาศาสตร์ และด้านการบริหาร
4. ส่งเสริมความร่วมมือซึ่งกันและกันในการฝึกอบรมและการวิจัย
5. ส่งเสริมความร่วมมือในด้านเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม การค้า การคมนาคม การสื่อสาร และปรับปรุงมาตรฐานการดำรงชีวิต
6. ส่งเสริมการมีหลักสูตรการศึกษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
7. ส่งเสริมความร่วมมือกับองค์กรระดับภูมิภาคและองค์กรระหว่างประเทศ